วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เกมส์คณิตศาสตร์

 เมื่อพร้อมแล้วเข้าไปเลือกเกมส์ที่นี้  http://talung.pt.ac.th/ptweb/aroon/game_math/menu.htm
      ให้สนุกกับคณิตศาสตร์ จะพบว่าคณิตศาสตร์ไม่ทำให้เบื่อครับ

เรื่องสมการ


                ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมายเท่ากับ (=)  เรียกว่า สมการ  ส่วนประโยคที่มีเครื่องหมาย
 >  , < ,    เรียกว่า อสมการ
ลองพิจารณาประโยคสัญลักษณ์ต่อไปนี้
1)  11 + 12 = 23          3)  16 + 5 >  20                                   5)  7  + 0  =  7
2)  15 + 18  20            4)  13 + 12  <  30                                 6)  2  +  1 >  2
จากประโยคสัญลักษณ์ข้างต้นจะเห็นว่า  ข้อ 1  และ ข้อ  5  มีเครื่องหมาย เท่ากับ  เป็นสมการ
ส่วนข้อ 2 , 3 ,4 และ ข้อ 6 เป็น อสมการ

สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า

        สมการ  มีทั้งสมการที่มีตัวไม่ทราบค่าหรือตัวแปร  และสมการที่ไม่มีตัวไม่ทราบค่า
เช่น
                a  +  20   =  25             มี    a  เป็นตัวแปรหรือตัวไม่ทราบค่า
                48  -   จ   =   4             มี    จ  เป็นตัวแปรหรือตัวไม่ทราบค่า

ตัวแปร    คือตัวสัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวที่ไม่ทราบค่า  นิยมเขียนแทนด้วยพยัญชนะไทย หรือ อักษรภาษาอังกฤษ


การพิจารณาสมการ
สมการที่เป็นจริงและที่เป็นเท็จ

พิจารณาสมการต่อไปนี้

3 + 5   =  5 + 3        เป็นสมการที่เป็นจริง  เพราะใช้คุณสมบัติการสลับที่ของการบวก  จำนวนที่อยู่ทาง ขวามือและจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือของเครื่องหมายเท่ากับ  มีค่าเท่ากัน
2 +  8  =  4 + 5   เป็นสมกาการที่เป็นเท็จเพราะจำนวนที่อยู่ทางขวามือและจำนวนที่อยู่ทางซ้ายมือ    ของเครื่องหมายเท่ากับ  มีค่าไม่เท่ากัน

               
การแก้สมการ


การแก้สมการคือ  การหาคำตอบของสมการโดยใช้สมบัติการเท่ากัน
1.การแก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันเกี่ยวกับการบวก  หรือการลบ

ตัวอย่างที่ 1     แก้สมการ   ก +   3  =    15
วิธีทำ                                   ก +  3  =    15
                                 ก  +  3  -  3     =     15  -  3    (สมบัติการลบ)
                                               ก      =     12

ตรวจคำตอบ   แทนค่า  ก  ด้วย  12   ในสมการ    ก + 3  =  15
                                                            จะได้        12 + 3  =  15        ซึ่งเป็นสมการที่เป็นจริง
                              ตอบ  ๑๓


ตัวอย่างที่ 2  แก้สมการ           a  - 8    =   12
วิธีทำ                        a  - 8             =     12
                             a  -  8  +  8    =     12  +  8  (สมบัติการบวก)
                              a                  =      20
                            
ตรวจคำตอบ       แทนค่า  a  ด้วย  20    ในสมการ  a  -   8    =   12
                                                                    จะได้    20 -  8    =    12   ซึ่งเป็นสมการที่เป็นจริง

                               ตอบ  20


2. การแก้สมการโดยใช้สมบัติการเท่ากันเกี่ยวกับการคูณ  หรือการหาร

ตัวอย่างที่ 3    แก้สมการ              6   =   5
วิธีทำ                                                    =   5
                                                     6  =    5 6    (สมบัติการคูณ)

                                                              =     30
นำ  30  ไปแทน   ในสมการ   จะได้   30  6  =  5  ซึ่งเป็นสมการที่เป็นจริง
ดังนั้นคำตอบของสมการ คือ 30

                                         ตอบ  ๓๐


ตัวอย่างที่ 4     แก้สมการ            =   72

วิธีทำ                                         =                      (สมบัติการหาร)

                                                             =  8
นำ 8  ไปแทน  ในสมการ จะได้  8 x  9 =  72   ซึ่งเป็นสมการที่เป็นจริง
ดังนั้น   คำตอบของสมการ คือ 72
                                                  ตอบ  ๗๒


ข้อควรระวัง    ถ้านำจำนวนที่หาได้ไปแทนตัวไม่ทราบค่าในสมการ  แล้วได้   
                        สมการที่เป็นเท็จ แสดงว่า  จำนวนนั้นไม่ใช่คำตอบของสมการ


ถ้ายังไม่เข้าใจอ่านใหม่อีกรอบครับ คนขยันฉลาดเสมอ..



ความคิดสร้างสรรค์เรื่องสำคัญของวัยเยาว์

Alone but not lonely

 

หากมองว่าความคิดสร้างสรรค์ไม่สำคัญ เมื่อคุณอ่านเรื่องนี้จบแล้ว คุณอาจต้องเปลี่ยนใจ...!!

ก็พอเข้าใจอยู่ว่าคุณๆ น่ะไม่ถึงกับข้าม จนไม่เห็นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ซะทีเดียวหรอก เพียงแต่อาจจะไม่ได้ใส่ใจให้เป็นเรื่องจริงจังเท่านั้นเอง เอาอย่างงี้ ฌานนิจจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับเจ้าความคิดสร้างสรรค์ให้ฟังดีกว่า ว่าสำหรับเด็กน่ะมันสำคัญขนาดไหนกันเชียว

ความคิดสร้างสรรค์คือ
ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ความคิดสร้างสรรค์คือการคิดที่นอกเหนือไปจากกรอบที่วางเอาไว้ คือการคิดที่หลากหลาย ไม่จำกัดอยู่แค่วิธีคิดแบบใดแบบหนึ่ง แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าการคิดอย่างนี้คือคิดอย่างสร้างสรรค์ คำตอบก็คือการคิดสร้างสรรค์นั้นจะประกอบไปด้วย
การคิดอย่างคล่องแคล่ว คือการคิดที่คำตอบมีหลายคำตอบให้เลือกได้มากกว่า 1 คำตอบในเรื่องเดียวกัน
การคิดอย่างริเริ่ม คือมีความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากความคิดแบบเดิมๆ ที่จำเจและซ้ำซาก ชอบปรับปรุงเปลี่ยนแปลง กล้าคิดกล้าแสดงออก
การคิดแบบละเอียดรอบคอบ มองอะไรเป็นแบบ 260 องศา คือไม่ใช่แค่การมีความคิดใหม่ๆ เท่านั้น แต่รวมถึงการให้รายละเอียดต่อความคิดนั้นได้อย่างครบถ้วน รอบด้าน สามารถผสมผสานทำให้เกิดเรื่องใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาได้
การคิดแบบยืดหยุ่น หมายถึง การคิดได้หลากหลายประเภท หลายชนิด และหลายกลุ่ม

ความคิดสร้างสรรค์ มีประโยชน์อย่างไร
ก็ต้องบอกว่ามีประโยชน์มากทีเดียว ลักษณะของความกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น สนใจอยากรู้ไปทุกอย่าง ก็ทำให้ชีวิตของเด็กสนุกสนาน ความคิดสร้างสรรค์จะสั่งสมและมีผลต่อเนื่องไปในระยะยาวค่ะ เวลาที่เด็กมีปัญหาเกิดขึ้นเขาก็จะมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย วิธีนี้ไม่ได้ ก็ยังมีวิธีอื่นสำรองไว้อีก ไม่ได้ใช้แค่การแก้ปัญหาเท่านั้น กับการเรียน การทำงาน การใช้ชีวิต ถ้ามีความคิดสร้างสรรค์แล้วย่อมจะได้เปรียบกว่าใครๆ เพราะจะทำให้เกิดแนวทางที่หลากหลาย แนวทางที่แปลกใหม่และความคิดสร้างสรรค์เหมาะอย่างยิ่งกับโลกในยุคปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราเองก็ต้องเปลี่ยนตาม จะมายึดติดอยู่กับความคิดเดิมๆ คงไม่ได้
การมีความคิดสร้างสรรค์จะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม อย่าลืมว่าที่โลกเรามีเทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้ ก็เพราะความคิดสร้างสรรค์นั่นยังไงล่ะ

กระบวนการสร้างสรรค์..........ใช่จะสั้นแค่คิดได้ มิควรด่วนดีใจ...................ว่าใครใครจะเห็นตาม ความคิดวิเศษสุด...............ที่ผลิผุดจนล้นหลาม สวยสดและงดงาม..............ก็เพียงตามตนว่าดี ความคิดเป็นจุดเริ่ม..............เมื่อปรับเพิ่มเติมวิถี ทำแล้วได้ผลดี....................จึงเป็นที่นิยมชม ผู้คนจะชื่นชอบ...................ตอบรับตามความเหมาะสม ดีกว่าฝันลมลม...................แล้วตรอมตรมกับความจริง

ความรู้เรื่องการวิจัย (สำหรับคุณครูทุกท่าน)

 

วิจัย

วิจัยคืออะไร
วิจัยและสถิติ
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
ธรรมชาติของการวิจัย
ลำดับขั้นในการวิจัย
ประโยชน์ของการวิจัย
คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย
ความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการวิจัย
พัฒนาการของวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์
ประเภทของการวิจัย
การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์
การวิจัยเชิงบรรยาย
การวิจัยเชิงทดลอง
แนวทางในการเลือกปัญหาเพื่อการวิจัย
แหล่งของปัญหาสำหรับการวิจัย
การตั้งชื่อเรื่องวิจัย
ข้อควรระวังในการเลือกปัญหาสำหรับการวิจัย
การเขียนคำจำกัดความของปัญหา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปรและชนิดของตัวแปร
สมมติฐาน : ความหมายและประเภท
การสุ่มตัวอย่าง


สถิติ


สถิติ : ความหมายและประเภท
มาตราการวัด
ระดับนัยสำคัญ
Stem and Leaf
Boxplots
Scatter Plots
การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
โมเมนท์รอบค่าเฉลี่ย ความเบ้ และความโด่ง
การแจกแจงรูปแบบต่าง ๆ
การวัดการกระจาย
Type I Error, Type II Error และอำนาจการทดสอบ
เปอร์เซ็นต์ไทล์ (Percentile)
คะแนนมาตรฐาน (z score)
ค่าผิดปกติ (Outliers)
สถิติอนุมานเบื้องต้น สถิติอนุมานประชากรเดียว สถิติอนุมานสองประชากร (link)
แนวทางการเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัย
การวัดความสัมพันธ์ : Pearson's Sample Correlation Coefficient (pdf)
การแปลความหมายสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสัมประสิทธิ์การอธิบาย (Coefficient of Determination)
สหสัมพันธ์แยกส่วน (Partial Correlation)
สหสัมพันธ์ปรับแก้
ไคสแควร์ (pdf)
การแปลงฟิชเชอร์ z และการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าสหสัมพันธ์ (pdf)
การวิเคราะห์ t-test เหมือนกับการวิเคราะห์ regression
การวิเคราะห์ ANOVA เหมือนกับการวิเคราะห์ regression
การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน (t-test dependent samples)
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน (The Spearman Rank Difference Method)
ดัชนีการกระจายของข้อมูลนามบัญญัติ (Index of Dispersion : D)
การเลือกการวัดการกระจายที่เหมาะสมกับข้อมูล


วัดผล


การวัดผลและประเมินผล : ความหมายและประเภท
สอบวัดกันไปทำไม
Bloom's Taxonomy
ความแตกต่างระหว่าง Performance และ Authentic Assessment
การวิเคราะห์ข้อสอบ (pdf)
ดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมิน : RAI (pdf)
ดัชนีความสอดคล้องของผู้ประเมิน : KAPPA (pdf)
ทำไมค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาถึงมีค่าติดลบ
การวิเคราะห์ข้อสอบอิงเกณฑ์ (pdf)
เกณฑ์การให้คะแนน (Scoring Rubric)
ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่น : ความเที่ยงตรง (pdf)
การวิเคราะห์ความลำเอียงของข้อสอบ
ความเชื่อมั่นของคะแนนความแตกต่าง


แหล่งที่มาของข้อมูล : www.watpon.com